ประวัติภาควิชา
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เริ่มก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ โดยเป็น 1 ใน 4 ภาควิชาที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ในสังกัดเดิมคือวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรีได้เปิดทำการสอน 4 แผนกวิชา ได้แก่ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ และช่างโลหะ ต่อมาแผนกวิชาช่างโลหะได้เปลี่ยนมาเป็นช่างเทคนิคการผลิต แผนกเทคนิคการผลิต และภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ตามลำดับ
ปี พ.ศ. 2503
เริ่มการเรียนการสอนเป็นปีแรกหลังจากก่อตั้ง โดยนักศึกษาปี 1 ของวิทยาลัยฯ จะเรียนทุกวิชาเหมือนกันหมด และแยกแผนกช่างตอนขึ้นปี 2
ปี พ.ศ. 2504
กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ใช้หลักสูตรใหม่ แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชาคือ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ และช่างโลหะ นักศึกษาตั้งแต่รุ่นนี้เป็นต้นไป ต้องแยกเรียนตามสาขาวิชาที่ตนเลือก ตั้งแต่เข้าปี 1 สำหรับช่างโลหะ แบ่งการลงฝึกวิชาปฏิบัติออกเป็น 3 สาขาวิชาได้แก่ สาขาช่างกลโรงงาน (Machine Tool) ช่างหล่อโลหะ (Foundry) และช่างเชื่อมและโลหะแผ่น (Welding and Sheet Metal) ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติงานที่เข้มข้น เหมือนทำงานจริงและได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันรุ่นต่อรุ่นจวบจนปัจจุบัน นอกจากนั้นทางด้านทฤษฎี ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
ปี พ.ศ. 2508
เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตร 5 ปี 190 หน่วยกิต
ปี พ.ศ. 2515
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515
ปี พ.ศ. 2516 – 2527
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ในช่วงนี้ภาควิชาฯ ได้เปิดสอน 2 สาขาวิชาใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ สาขาบริหารอุตสาหกรรม (Industrial Management) เพื่อเสริมความเข้มแข็งด้านการบริหาร และสาขาวิชาช่างทั่วไป (Basic Work Shop) เพื่อทำ การสอนนักศึกษานอกภาควิชา ภาควิชาฯ มีโรงฝึกงาน (Work Shop) รวมทั้งหมด 5 โรงได้แก่อุตสาหการ 1 (ช่างกลโรงงาน) อุตสาหการ 2 (ช่างหล่อโลหะ) อุตสาหการ 3 (ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น) อุตสาหการ 4 (ช่างทั่วไป) และอุตสาหการ 5 (สาขาบริหารอุตสาหกรรม)
ปี พ.ศ. 2535
ปรับเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน 5 ปี 190 หน่วยกิต เป็น 4 ปี 148 หน่วยกิต ถึงกระนั้นก็ตามภาควิชาก็ยังคงไว้ซึ่งความเข้มข้นด้านการปฏิบัติ
ปี พ.ศ. 2533 – 2539
รัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและโครงการพัฒนาอาจารย์ได้จัดสรรทุนการศึกษาให้อาจารย์รุ่นใหม่ได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศจนถึงระดับปริญญาเอกโดยส่วน ใหญ่ไปศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 18 คน
ปี พ.ศ. 2537
สาขาวิชาช่างกลโรงงาน (อุตสาหการ 1) ได้แยกตัวไปตั้งเป็นภาควิชาใหม่ คือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ (Tool Engineering and Materials) สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์
ปี พ.ศ. 253X
เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา 3M
ปี พ.ศ. 2540 – 2551
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และโครงการพัฒนาอาจารย์ของสถาบันฯ ได้ให้ทุนศึกษาต่อต่างประเทศถึงระดับปริญญาเอกอีก 4 ทุน ในระหว่างนี้นักเรียนทุนรุ่นก่อนที่จบการศึกษา ได้กลับมาเป็นอาจารย์ผู้สอนประจำสาขาวิชาต่างๆ ทำให้ภาควิชาฯมีความเข้มแข็งด้านวิชาการและวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ภาควิชาจึงได้ทำการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับ [/ column]
ปี พ.ศ. 2542
เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบการผลิต (Leader for Manufacturing Competitiveness)
ปี พ.ศ. 2544
เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเชื่อม (Welding Engineering)
ปี พ.ศ. 2545
เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ (Metallurgical Engineering) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronic Engneering)
ปี พ.ศ. 2547
เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคุณภาพ (Quality Engineering)
ปี พ.ศ. 2548
เปิดสอนระดับปริญญาเอก หลักสูตรวิศวกรรมการผลิตและระบบ (Manufacturing and Systems Engineering)
ปี พ.ศ. 2554
ปรับปรุงหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาของ ภาควิชา 7 หลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงความต้องการของประเทศ โดยยังคงความเป็นวิศวกรผู้ปฏิบัติ (Practical Engineer) และมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างลึกซึ้ง
ปี พ.ศ. 2558 – 2559
ปรับปรุงหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิต ศึกษาของภาควิชาใน 6 หลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและพลวัตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของประเทศ ภูมิภาค และโลก
การจัดการเรียนการสอนของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการในทุกหลักสูตร ถือว่ามีคุณภาพในลำดับต้นๆ ของประเทศ ผลิตบัณฑิตประมาณปีละ 120 คน มหาบัณฑิตประมาณปีละ 80 คน ดุษฎีบัณฑิตปีละประมาณ 3-5 คน มีผลงานวิจัยและวิชาการเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วิชาการและการประชุมวิชาการ ระดับชาติและนานาชาติ ในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 40 ผลงานอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี คณาจารย์ได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงทุนวิจัยจากต่างประเทศ ด้านงานบริการวิชาการภาควิชาฯ ได้ให้การบริการวิชาการแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมากมาย อาทิเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี สภากาชาดไทย เป็นต้น นอกจากนี้คณาจารย์ของภาควิชาฯ ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการระดับชาติและระดับนานาชาติ เช่น คณะกรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการเครือข่ายวิชาการ คณะบรรณาธิการวารสารทางวิชาการต่างๆ คณะอนุกรรมการแข่งขันฝีมือแรงงานสาขาช่างเชื่อม ระดับนานาชาติ คณะอนุกรรมการวิชาการรายสาขา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม เป็นต้น